เกี่ยวกับโครงการ
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
กัญชง (Hemp) เป็นพืชเศรษฐกิจที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ “ให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์การส่งเสริมการปลูกกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจบนพื้นที่สูง” เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2552 เพื่อสนองแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ซึ่งโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (สวพส.) ทำการวิจัยเบื้องต้นและส่งเสริมการแปรรูปในระดับหนึ่ง โดยมีเป้าหมายให้ชุมชนบนพื้นที่สูงสามารถปลูกและแปรรูปเส้นใยกัญชงสำหรับการใช้สอยในครัวเรือนและ พัฒนาสำหรับประเทศไทยนั้นเป็นแหล่งเกษตรกรรมมีพืชที่น่าสนใจมากมายหลากหลายชนิด เป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรหลายชนิด ที่มีผลพลอยได้เป็นเส้นใยธรรมชาติ มีพื้นที่มากพอที่จะปลูกพืชเพื่อผลิตเส้นใยในลักษณะเดียวกันกับประเทศในยุโรป แคนาดา และสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยมีพืชเส้นใยที่น่าสนใจหลายชนิด เช่น มะพร้าว และสับปะรด ซึ่งมะพร้าวนั้นก็มีการนำเส้นใยไปใช้ในอุตสาหกรรมหลายหลายรูปแบบอยู่แล้ว เส้นใยใบสับปะรดก็ยังไม่มีการพัฒนาอย่างจริงจังมากนัก และพืชเส้นใยที่น่าสนใจมากอีกตัวหนึ่งคือ กัญชง สำหรับ กัญชงมีคุณประโยชน์หลายอย่างมาก ได้แก่ ผลิตเป็นเยื่อกระดาษ กระดาษหัตถกรรม สารสกัดจากใบกัญชง แผ่นใยกัญชงอัด ถ่านกัญชงเพื่อผลิตถ่านกัมมันต์ และโดยเฉพาะเส้นใยกัญชงเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอและคอมโพสิตนั้น สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นหน่วยงานกลางในการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีในขั้นตอนต่างๆ ในการแปรรูป หากมีผลผลิตกัญชงจำนวนมาก จำเป็นต้องนำทุกส่วนของกัญชงมาใช้ให้เกิด ประโยชน์มากที่สุด ซึ่งนอกจากจะต้องใช้พื้นที่ในการปลูกมากขึ้นแล้วยังจะต้องมีต้นทุนในขั้นตอนต่างๆ ที่เหมาะสม การนำเส้นใยมาใช้ต้องมีคุณภาพที่เหมาะสม มีจำนวนมากพอที่จะป้อนสู่อุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างแท้จริง เป็นพืชสำคัญทางเศรษฐกิจของชุมชน
ในปัจจุบันทั่วโลกให้ความสนใจการนำเส้นใยธรรมชาติมาใช้ในอุตสาหกรรมอย่างมาก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมรถยนต์มีการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้อย่างจริงจัง ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ทั้งในแคนาดาสหรัฐอเมริกายุโรปและเอเชีย โดยกลุ่มที่มีความก้าวหน้าที่สุดคือ กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ที่มีการตั้งสมาพันธ์ที่ดูแล เรื่องแฟลกซ์และกัญชง (The European Confederation of Linen and Hemp (CELC)) โดยเฉพาะ โดยศึกษาตั้งแต่การคัดเลือกพันธ์แฟลกซ์ การปลูกการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปไปจนถึงการศึกษาโครงสร้างเส้นใยและการใช้เส้นใยในอุตสาหกรรมคอมโพสิตจนกระทั่งเกิดผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ขึ้นมาหลายชนิด และในแคนาดามีการรวมกลุ่มของงานวิศวกรรมเพื่อตั้งศูนย์วิจัยนวัตกรรมคอมโพสิต (Composites Innovation Centre) และตั้งโครงการ Fibre CITY ขึ้นมาเพื่อศึกษาเส้นใยธรรมชาติโดยเฉพาะ โดยทำงานในลักษณะเดียวกับสมาพันธ์แฟลกซ์และกัญชงของสหภาพยุโรปการ ที่แต่ละประเทศจะต้องมีการพัฒนา สายพันธ์และการปลูกของตนเองนั้นก็เนื่องจากภูมิอากาศ และสภาพดินในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน การดำเนินการในด้านการปลูกพืช เส้นใยของประเทศ เหล่านี้เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีการพัฒนาและผลิตเครื่องจักรสำหรับเก็บเกี่ยวและการแปรรูปโดยเฉพาะ
ดู 1234 ครั้ง I แชร์ 123 ครั้ง