FAQ
อื่นๆ
มีการปลดล็อคจริง ทุกส่วนของกัญชา/กัญชง แต่ยกเว้น
– ช่อดอกกัญชา
– เมล็ดกัญชา ช่อดอกกัญชง ยังคงเป็นยำเสพติดให้โทษประเภท 5 และต้องขออนุญาตในลักษณะยาเสพติด ประเภท5และการปลูกยังต้องขออนุญาตตามกฎหมายยาเสพติด
1. เปลือกลำต้น เส้นใย สามารถใช้ศึกษาวิจัย/ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น สิ่ง ทอ ยานยนต์กระดาษ
2. รากใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์/ศึกษาวิจัย/ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรตำรับ ยาแผนโบราณ
3. ใบจริง/ใบพัด ซึ่งต้องไม่มีช่อดอกหรือยอดติดมาด้วย ใช้เพื่อประโยชน์ทาง การแพทย์/ศึกษาวิจัย/ผลิตผลิตภัณฑ์เช่น ตำรับยาแผนโบราณ ผลิตภัณฑ์ สมุนไพร อาหาร
4. กิ่ง/ก้ำนใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์เช่น ผลิตผลิตภัณฑ์/ศึกษาวิจัย/ สมุนไพร เครื่องสำอาง
5. กากจากการสกัดต้องมี THC ไม่เกิน 0.2% ใช้ประโยชน์โดยการนำไปทำปุ๋ย
6. สารสกัด CBD และต้องมี THC ไม่เกิน 0.2% : ใช้เพื่อประโยชน์ทาง การแพทย์เครื่องสำอาง สมุนไพร อาหาร ยา เช่น ผลิตผลิตภัณฑ์/ศึกษาวิจัย
7. เปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้ง เพื่อใช้ประโยชน์สิ่งทอ กระดาษ
เมล็ดของเฮมพ์จะมีขนาดใหญ่ ผิวเมล็ดเรียบ และมีลายบ้าง ส่วนเมล็ดกัญชาจะมีขนาดเล็กกว่า ผิวมีลักษณะมันวาว
ใช่ แต่การสกัดต้องดูว่าสาร CBD นั้น ยังมีสาร THC ไม่เกิน 0.2% และต้องมาจาก ต้นหรือการสกัดที่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย
กรณีพิสูจน์ที่มาไม่ได้ จะถือว่ามีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ
ผู้รับอนุญาตมีหน้าที่ตรวจวิเคราะห์ ทุกครั้ง แต่อาจไม่ได้แจ้งต่อพนักงาน/เจ้าหน้าที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถเรียกหลักฐานการตรวจวิเคราะห์ได้
ผู้รับอนุญาตผลิตโดยการปลูก มีหน้าที่ตรวจสอบสาร THC ซึ่งต้องไม่เกินที่กำหนดว่าเป็นกัญชง
ผู้รับอนุญาตผลิต (มิใช่การปลูก) และผู้รับอนุญาตผลิตทางการแพทย์ มีหน้าที่ตรวจวิเคราะห์สาร THC CBD รวมถึงสารประกอบอื่น สารปนเปื้อน และโลหะหนัก
อย. อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อออกประกาศ สธ. กำหนดตำรับกัญชงที่ให้เสพเพื่อการรักษาโรคและศึกษาวิจัยได้ อย่างไรก็ตามยาแผนไทยที่มีกัญชงปรุงผสมอยู่ต้องผ่านการรับรองตำรับจากกรมการแพทย์แผนไทยก่อน เช่นเดียวกับกัญชา สำหรับกรณียาสำหรับสัตว์ในขณะนี้ ยังไม่มีตำรับใดที่ใช้เฉพาะสำหรับสัตว์
สำหรับผู้ที่ได้รับอนุญาตในการผลิตกัญชง การสุ่มตัวอย่างกัญชงเพื่อตรวจ วิเคราะห์หาปริมาณสาร THC ในพืช หรือในสารสกัด หรือผลิตภัณฑ์ เป็นหน้าที่ของ ผู้ได้รับอนุญาตในการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการดังกล่าว โดยให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจวิเคราะห์ตามที่กำหนด กรณีเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจสอบเพื่อเฝ้าระวังหรือจะมีชุดทดสอบที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้การรับรอง โดยเป็นการพัฒนาของศูนย์วิทยาศาสตร์ การแพทย์ที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ โดยชุดทดสอบเป็นชุดทดสองเบื้องต้น ส่วนกลางอาจมี การแจกให้จังหวัดละ 1 กล่อง (ทดสอบได้ 20ตัวอย่าง)
ผู้รับอนุญาตปลูกที่ผิดเงื่อนไขการเป็นกัญชง คือ ตรวจพบปริมาณสาร THC ใน ใบและช่อดอกเกินร้อยละ 1 ต้องดำเนินการแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ (สาธารณสุข จังหวัด) โดยไม่ชักช้า โดยสามารถดำเนินการจำหน่ายส่วนที่เป็นยาเสพติดให้โทษ เช่น ช่อดอก โดยจะต้องขอใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ (กัญชง) ให้กับผู้ที่มีใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติด คือ ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ (กัญชา)
หน่วยงานที่ตรวจวิเคราะห์กัญชา กัญชง ได้ ในขณะนี้มี ดังนี้
1. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
2. ห้องปฏิบัติการที่ผ่านการทดสอบความชำนาญ หรือเปรียบเทียบผล ระหว่างห้องปฏิบัติการในการทดสอบวิเคราะห์หำปริมาณสาร cannabinoid ในวัตถุดิบพืชสารสกัดหรือผลิตภัณฑ์กัญชาขณะนี้มี 10 แห่งดังนี้
1. ศูนย์บริการเทคโนโลยีเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
2. ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. (NCTC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
3. กลุ่มวิจัยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ องค์การเภสัชกรรม
4. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ 1 เชียงใหม่ (สังกัดกรมวิทย์ฯ)
5. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลก
6. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ 6 ชลบุรี
7. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ 9 นครราชสีมา
8. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ 10 อุบลราชธานี
9. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ 12 สงขลา
10. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ 12/1ตรัง
ทั้งนี้ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563 “กัญชาและวัตถุหรือสารใดๆ ในกัญชา ยังคงจัดเป็นยาเสพติดให้โทษใน ประเภท 5” แต่สิ่งที่ได้รับการยกเว้นจากการเป็นยาเสพติดให้โทษตามประกาศฉบับนี้ต้องเป็นผลผลิตที่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย และผลิตภายในประเทศไทย หากเป็นของเถื่อนหาที่มาที่ไปไม่ได้จะถือว่าเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 โดยไม่ต้องคำนึงถึงปริมาณสาร THC
ชุดทดสอบอย่างง่าย (test kit) ใช้เพื่อทดสอบเบื้องต้นไม่มี false positive เพราะเป็น TLC ธรรมดา ไม่ใช่ mmune essay แต่ผลจะ errors ได้แน่นอน ขึนกับเทคนิคของผู้ที่ทำการทดสอบด้วย
1. กฎกระทรวง หมวด 2 การอนุญาต ข้อ 17 ระบุว่า “ในกรณีที่เป็นผู้ได้รับ ใบอนุญาต ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่ายซึ่งกัญชงไม่ต้องขอใบอนุญาตมีไว้ใน ครอบครอง” เช่น
- ผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตให้ผลิต (ปลูก) กัญชงแล้ว ก็ไม่ต้องขออนุญาตครอบครองต้นกัญชงที่ปลูกได้นั้น
2. กรณีที่ต้องขอใบอนุญาตมีไว้ในครอบครอง คือ ครอบครองเพื่อวิเคราะห์ วิจัย ในห้องแลป เพื่อเป็นตัวอย่างในการศึกษา
กรณีนี้ผู้รับอนุญาตต้องขออนุญาตผลิตสกัด ยส.5 เฉพาะกัญชง และหากได้สารสกัดที่มีปริมาณ THC เกิน 0.2 % ซึ่งสารสกัดดังกล่าวยังจัดเป็นยาเสพติดให้โทษ ดังนั้น ผู้รับอนุญาตผลิตสกัด ต้องได้รับใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เพื่อจำหน่ายสารสกัดดังกล่าว ไปยังผู้รับอนุญาตผลิตตำรับยาที่มีกัญชง ปรุงผสมอยู่ เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตยากัญชง ซึ่งสถานที่รับอนุญาตผลิตตำรับยา จะต้องดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐานวิธีการผลิตสารสกัดตำรับยา ที่คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษกำหนด
หากมีการนำใบมาจากแหล่งที่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายแล้ว สามารถนำไป เสพได้ แต่อย่างไรก็ตามหากมีการตรวจหาสารเสพติดในร่างกายหรือไม่ โดยเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจแล้วตรวจพบว่ามีปริมาณสาร THC ในปัสสาวะเกินปริมาณที่ กำหนดตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมี สารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่ ถือว่าบุคคลนั้นกระทำผิดตามกฎหมาย นอกจากนี้ การที่กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศยกเว้นใบจากการเป็นยาเสพติดให้โทษ มิได้ มีเจตนาเพื่อให้นำไปสูบ หรือเพื่อนันทนาการ แต่เจตนายกเว้นเพื่อให้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านสุขภาพ
ตามประกาศคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ เรื่อง กำหนดลักษณะกัญชง (Hemp) คือกัญชงต้องมีสาร THC ในใบและช่อดอก ไม่เกินร้อยละ 1.0 ต่อน้ำหนักแห้ง โดยตรวจวิเคราะห์ตามที่กำหนด ซึ่งถ้าตรวจแล้วพบว่าปริมาณ THC มากกว่า ร้อยละ 1.0 ก็จะถูกจัดเป็นกัญชา ดังนั้นส่วนไหนที่เป็นยาเสพติดให้โทษ (ช่อดอก) ต้องดำเนินการทำลาย หรือจำหน่ายให้ผู้รับอนุญาตเกี่ยวกับกัญชา ตามกฎหมายยา เสพติด สำหรับส่วนอื่นที่ไม่ใช่ยาเสพติด เช่น เส้นใย กิ่ง ก้าน ใบ และราก สามารถ นำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้น ผู้ปลูกต้องให้ความสำคัญกับการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์กัญชงมาปลูก เพื่อลดความเสี่ยงกรณีเมื่อตรวจหาสาร THC เกิน 1.0%