FAQ
การปลูก
เมล็ดพันธุ์กัญชงที่เป็นเมล็ดพันธุ์รับรองปัจจุบันมี 4 พันธุ์ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่เน้นการใช้เส้นใยเป็นหลัก ผลิตโดยสถาบันวิจัยพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตกัญชง พ.ศ. 2563 ภายใน 5 ปีแรก มิได้จำากัดว่าต้องใช้เมล็ดพันธุ์รับรอง ทั้งนี้อาจขออนุญาตนำเข้าเมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศมาได้โดยต้องมีใบ certificate แสดงว่าเป็นพันธุ์ที่มี THC ไม่เกินร้อยละ 1 และต้องมีใบสุขอนามัยพืชและใบที่แสดงว่าไม่เป็นพืชตัดต่อพันธุกรรมประกอบการนำเข้า ทั้งนี้ เมล็ดพันธุ์ อย.ไม่มีแจก
ใช่ เมล็ดกัญชงที่มาจากผู้ที่ได้รับอนุญาตปลูกตามกฎหมายได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ แต่หากมีการนำเมล็ดไปปลูก การปลูกต้องขออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
กฎหมายยังไม่เปิดให้สามารถดำเนินการได้ กรณีฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมาย
ใช่ แต่ให้บันทึกในรายงานว่าทำลายอะไร จำนวนเท่าไร พร้อมหลักฐานการทำลาย เช่น ภาพถ่าย
ผู้รับอนุญาตผลิต (ปลูก) มีหน้าที่จัดทำรายงานการจำหน่ายผลผลิตที่ได้จากการปลูก เช่น ช่อดอก ใบ ราก ลำต้น ในแบบรายงานตามที่กฎหมายกำหนด โดยต้องรายงานผลผลิตทั้งหมดที่ได้ทั้งส่วนที่เป็นยาเสพติดให้โทษและไม่เป็นยาเสพติดให้โทษด้วยว่านำไปทำอะไร หรือขายให้ใคร
การจัดเตรียมสถานที่ปลูก เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสถานที่ และระบบการควบคุมการปลูกกัญชง (Hemp) พ.ศ. 2564 การเลือกรูปแบบการปลูก ควรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การปลูก เช่น กรณี การปลูกกัญชงนำช่อดอกไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ควรใช้รูปแบบการปลูกที่มีการควบคุมคุณภาพและปริมาณสาระสำคัญในช่อดอก มีระบบป้องกันแมลงศัตรูพืช โรคพืช และมีวิธีการที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการปนเปื้อนทางสายพันธุ์
ระบบการรักษาความปลอดภัย
- กรณีกลางแจ้ง เช่น ทำรั้ว ป้องกันบุคคลภายนอก
- กรณีภายในโรงเรือน เช่น มีกุญแจล็อคเพื่อป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง
การปลูกกัญชง สามารถขออนุญาตปลูกได้ทุกพื้นที่ โดยขออนุญาตตามกฎกระทรวง ว่าด้วยการอนุญาตกัญชง (Hemp) มีผลใช้บังคับวันที่ 29 เดือนมกราคม 2564 เงื่อนไข การขออนุญาต เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ดังนี้
1) เพื่อประโยชน์ตามภารกิจของหน่วยงานของรัฐ เว้นแต่เป็นภารกิจตาม (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ให้หน่วยงานของรัฐขออนุญาตตามวัตถุประสงค์นั้น แล้วแต่กรณี
2) เพื่อการใช้ประโยชน์จากเส้นใยตามประเพณีวัฒนธรรม หรือวิถีชีวิต และใช้ในครอบครัวเท่านั้น ทั้งนี้มีพื้นที่ปลูกได้ครอบครัวละไม่เกินหนึ่งไร่
3) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม
4) เพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์
5) เพื่อประโยชน์ในการศึกษา วิเคราะห์วิจัย หรือปรับปรุงพันธุ์
6) เพื่อประโยชน์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์รับรอง
– การยื่นคำขอ ณ สสจ.ท้องที่ที่สถานที่จะขออนุญาตตั้งอยู่
– ผู้รับอนุญาตมีหน้าที่ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด เช่น การตรวจวิเคราะห์สาร THC เพื่อให้ยังคงความเป็นกัญชงซึ่งกำหนดค่าTHC ไม่เกินร้อยละ1
- การจัดเตรียมสถานที่ปลูกเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้ โทษเรื่อง กำหนดมาตรฐานสถานที่และระบบการควบคุมการปลูกกัญชง (Hemp)พ.ศ. 2564
อาจสามารถทำได้ แต่อาจต้องมีการปลูกเหลื่อมเวลากัน เนื่องจากกัญชา และกัญชง เป็นพืชที่มีการผสมเกสรข้ามกัน หากมีการปลูกในพื้นที่เดียวกัน ช่วงเวลาปลูกการออกดอกตรงกัน หากมีการผสมเกสรกัน จะทำให้ผลผลิตเสียหายทั้งกัญชาและกัญชง ไม่เป็นไปตามที่ผู้รับซื้อต้องการได้
ให้ผู้รับอนุญาตผลิตกัญชง (โดยการปลูก) ดำเนินการจัดเตรียมพื้นที่ และการรักษาความปลอดภัยตามรายละเอียดประกาศคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ เรื่อง มาตรฐาน สถานที่ปลูก และระบบควบคุมการปลูก โดยไม่มีข้อกำหนด เรื่อง กล้องวงจรปิดหรือระบบสแกนลายนิ้วมื้อ ขึ้นอยู่กับผู้ขอรับอนุญาตจะนำเสนอมาตรการ เช่น มาตรการป้องกันบุคคลภายนอกนำกัญชงที่อยู่ในแปลงปลูกไปใช้นอกระบบการดำเนินการกรณีช่อดอกกัญชงถูกโจรกรรม ทั้งนี้ การกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยขึ้นกับวัตถุประสงค์ของการปลูกกัญชง เช่น กรณีการปลูกด้วยวัตถุประสงค์ที่จะใช้เส้นใยเป็นหลัก จะมีมาตรการที่ไม่ต้องเข้มงวดเนื่องจากมีความเสี่ยงต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จากช่อดอก หรือเมล็ด
จากการสืบค้นข้อมูลทางวิชาการของต่างประเทศในหลายๆ แหล่งข้อมูล นักวิจัยต่างประเทศแนะนำการปลูกกัญชา กัญชง ในพื้นที่ควรมีระยะห่างที่เหมาะสม ประมาณ 5 -10 กิโลเมตร แต่ทั้งนี้ในหลายๆประเทศไม่ได้กำหนดเรื่องระยะห่างของพื้นที่ (Zoning) ไว้เป็นกฎหมายที่ชัดเจน รวมทั้ง อย. ด้วย แต่แนะนำให้ผู้รับอนุญาตจัดเตรียมการป้องกันดังกล่าว เช่น
- การวางแผนการผลิต (ปลูก) ที่ต่างเวลากัน ระหว่างแปลงปลูกใช้ประโยชน์จากเมล็ด (Seed) และแปลงปลูกที่ใช้ประโยชน์ช่อดอก (CBD) เพื่อไม่ให้เกิดการผสมข้ามสายพันธุ์
- เลือกรูปแบบการปลูกให้เหมาะสม เช่น การปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จากช่อดอกควรปลูกในโรงเรือน หรือระบบปิด เพื่อป้องกันการผสมเกสรข้าม (CrossPollination) กัญชา-กัญชง
- เลือกใช้เมล็ดพันธุ์เฉพาะในการปลูก เช่น เมล็ดเพศเมีย (Feminized Seeds) ในพื้นที่ปลูกหรือเมล็ดพันธุ์ที่ Auto flowering จะออกดอกเองเมื่อมันเติบโต แข็งแรงในแปลงปลูก
- ศึกษาข้อมูลก่อนการขอรับอนุญาตปลูกกัญชาและกัญชง จากในพื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งขนาดพื้นที่ว่ามีการปลูกกัญชา หรือกัญชงใกล้พื้นที่ของตัวเองหรือไม่
กรณีกัญชงไม่ได้กำหนดว่าต้องมีกล้องวงจรปิดรักษาความปลอดภัย 24 ชม. ขึ้นอยู่กับผู้ขออนุญาตที่ต้องนำเสนอให้เจ้าหน้าที่ ตัวอย่างที่นำเสนอเช่น ส่วนของมาตรการป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเข้ามาในพื้นที่เขาลักลอบขโมยหรือผลผลิตกัญชงออกไป ใช้นอกระบบได้ หรือ กรณีถ้าหากว่าเกิดการสูญหายของช่อดอก จะมีการดำเนินการ อย่างไรเป็นต้น
ไม่ควรปลูกรวมกัน ควรแยกแนวเขตกันอย่างชัดเจน
ไม่เป็นข้อบังคับว่าจะต้องได้รับใบ Certificate GAP แต่กำหนดว่าให้ดำเนินการตามมาตราฐาน GAP ซึ่งหากได้ใบ Certificate ด้วยก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก