FAQ
การขออนุญาต
ผู้รับอนุญาตปลูกต้องได้รับใบอนุญาตผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 จาก อย. และสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากเว็บไซต์ www.fda.moph.go.th หรือสอบถาม ได้ที่เบอร์ 1556 หรือ ที่กองควบคุมวัตถุเสพติด
ประชาชนไทย ,นิติบุคคลสัญชาติไทย , หน่วยงานของรัฐ สามารถขอรับ อนุญาตปลูกกัญชง ได้โดยขออนุญาตตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตกัญชง (Hemp) ซึ่งมีผลใช้บังคับวันที่ 29 เดือนมกราคม 2564 เป็นต้นไป เงื่อนไข การขอ อนุญาตเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ดังนี้
(1) เพื่อประโยชน์ตามภารกิจของหน่วยงานของรัฐ เว้นแต่เป็นภารกิจตาม (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ให้หน่วยงานของรัฐขออนุญาตตามวัตถุประสงค์นั้น แล้วแต่กรณี
(2) เพื่อการใช้ประโยชน์จากเส้นใยตามประเพณีวัฒนธรรม หรือวิถีชีวิต และใช้ใน ครอบครัวเท่านั้น ทั้งนี้มีพื้นที่ปลูกได้ครอบครัวละไม่เกินหนึ่งไร่
(3) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม
(4) เพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์
(5) เพื่อประโยชน์ในการศึกษา วิเคราะห์วิจัย หรือปรับปรุงพันธุ์
(6) เพื่อประโยชน์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์รับรอง – การยื่นคำขอ ณ สสจ.ท้องที่ที่สถานที่จะขออนุญาตตั้งอยู่
– ผู้รับอนุญาตมีหน้าที่ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด
อย.อยู่ระหว่างจัดทำมาตรฐานสถานที่สกัด โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์ไว้กว้างๆ เพื่อให้สามารถนำสารสกัดที่ได้ไปใช้กับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ เช่น ผลิตภัณฑ์สมุนไพร อาหาร เครื่องสำอาง
สำหรับกัญชงไม่จำเป็นต้องเป็นวิสาหกิจชุมชนก็ได้ เกษตรกรรายเดี่ยวก็สามารถปลูกได้เองภายในพื้นที่ตนเองไม่จำเป็นต้องรวมเป็นวิสาหกิจชุมชน แต่หากเกษตรกรประสงค์จะรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนก็สามารถแยกพื้นที่ปลูกได้ไม่จำเป็นต้องรวมในพื้นที่เดียวกัน
ไม่ได้ เนื่องจากการดำเนินการยื่นขออนุญาตจะเป็นไปตามข้อ 11 ของ กฎ กระทรวงฯ คือ
– กรณีผลิตจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งกัญชง : พื้นที่อยู่ กทม. ยื่นที่ อย./ พื้นที่อยู่จังหวัดอื่น ยื่นที่ สสจ. แห่งท้องที่ที่ตั้งอยู่
– กรณีนำเข้าหรือส่งออกซึ่งกัญชง : ให้ยื่นที่ อย.
กรณีการใช้ประโยชน์จากเมล็ดกัญชง ในการหีบน้ำมันหรือสกัดน้ำมันจากเมล็ดกัญชง สถานที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ
การปลูกกัญชงต้องได้รับการอนุญาตผลิต (ปลูก) ทุกกรณี เช่นเดิม ไม่ว่าจะมีวัตถุประสงค์การนำไปใช้แบบใดก็ตาม
อาหารสัตว์ ถูกควบคุมตามกฎหมายของกรมปศุสัตว์ ควรสอบถามไปยังกรมปศุสัตว์โดยตรงเพื่อดำเนินการตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
ให้ขอแก้ไขโครงการ โดยระบุในแผนการใช้ประโยชน์ว่าต้องการขายส่วนใดให้ใครบ้าง โดยยื่นคำขอแก้ไข ณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดนต้องรายงานผลผลิตทั้งหมดที่ได้ทั้งส่วนที่เป็นยาเสพติดให้โทษและไม่เป็นยาเสพติดให้โทษด้วยว่านำไปทำอะไรหรือขายให้ใคร
อาหารสัตว์ ถูกควบคุมตามกฎหมายของกรมปศุสัตว์ ควรสอบถามไปยังกรมปศุสัตว์โดยตรงเพื่อดำเนินการตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
การครอบครองกรณีเป็น “ต้นยังมีชีวิต” ถือเป็นยาเสพติดต้องขออนุญาตปลูกครอบครองไม่เช่นนั้นจะถือว่าผิดกฎหมาย
(ยกเว้นแต่ บางส่วนของพืชที่ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ แต่ต้องมาจากต้นที่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย)
กฎหระทรวง กำหนดเงื่อนไข การขออนุญาตเป็นไปตามวัตถุประสงค์ใน (2) เพื่อการใช้ประโยชน์จากเส้นใยตามประเพณี วัฒนธรรม หรือวิถีชีวิต และใช้ในครอบครัวเท่านั้น ทั้งนี้ มีพื้นที่ปลูกได้ครอบครัวละไม่เกิน 1 ไร่
ดังนั้น หากต้องการใช้ประโยชน์จากส่วนอื่นของกัญชง ต้องขออนุญาตในวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม
ต้องขออนุญาตแบบยาเสพติดให้โทษ โดยขออนุญาตตามกฎกระทรวงว่าด้วยการขออนุญาตกัญชง พ.ศ. 2563 ทั้งนี้ ภายใน 5 ปี แรกให้นำเข้ามาเพื่อวิจัยเท่านั้น จำหน่ายไม่ได้
คณะกรรมการจังหวัด มีหน้าที่ในการพิจารณาคำขอรับอนุญาตแล้วส่งความเห็นมายังคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดเพื่อพิจารณาอนุญาตในการลงตรวจพื้นที่ผลิตกัญชงขึ้นกับบริบทในแต่ละจังหวัด ในการจัดทีมตรวจตามคำสั่งของคณะกรรมการจังหวัดนั้นๆ อาจเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จากกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภคตรวจหรือจากชุดปฏิบัติการตรวจสอบสถานที่กัญชงที่คณะกรรมการจังหวัดต่างๆ จัดตั้งก็ได้ ทั้งนี้มีรายละเอียดขั้นตอนการตรวจสถานที่จะปรากฎในคู่มือพนักงานเจ้าหน้าที่
รายละเอียดเป็นไปตามประกาศ อย. เรื่อง กำหนดแบบคำขอใบอนุญาต และใบแทนใบอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชง (Hemp) พ.ศ. 2564 ซึ่งจะมีเอกสารหลักฐานที่ต้อง ใช้ประกอบการขอรับอนุญาตแสดงไว้ในแบบคำขอด้วยแล้ว
ใช่ กล่าวคือ กรณีการขออนุญาตเกี่ยวกับกัญชง ผู้ขออนุญาตไม่ว่าจะเป็นบุคคล ธรรมดา หรือนิติบุคคล หรือวิสาหกิจชุมชนที่ไม่เป็นนิติบุคคล สามารถขอรับอนุญาต ในวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ วิจัย หรือปรับปรุงพันธุ์ได้เอง โดยไม่จำเป็นต้อง ร่วมกับหน่วยงานของรัฐ (ซึ่งจะแตกต่างจากการขออนุญาตของกัญชา) ทั้งนี้ การดำเนินการขออนุญาตตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ต้องมีเอกสารที่เพิ่มเติมจากการขออนุญาตเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อื่นๆ ที่ ได้แก่
- โครงการศึกษาวิจัยที่มีรูปแบบตามหลักวิชาการ และสอดคล้องกับคำขอ อนุญาต โดยผู้ศึกษาวิจัยต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับ โครงการศึกษาวิจัย ทั้งนี้หากผู้ร่วมศึกษาวิจัยเป็นผู้ที่อยู่ในสังกัดหน่วยงานอื่น ต้องมีเอกสารแสดงการรับทราบจากต้นสังกัด
- ผลการวิเคราะห์เพื่อหาปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ในกัญชง
- หลักฐานการผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (กรณีการศึกษาวิจัยในมนุษย์)
- ใบอนุญาตใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (กรณีการศึกษาวิจัยที่ใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์)
ต้องจัดเตรียมสถานที่ปลูกกัญชง และเตรียมมาตรการรักษาความปลอดภัยตามที่กำหนดให้พร้อมจึงจะมายื่นคำขออนุญาตพร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานที่แสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของผู้ขออนุญาตในสถานที่ปลูกกัญชงและเอกสารอื่นๆ ที่กำหนดไว้ในแบบคำขอ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะไปตรวจสถานที่ก่อนได้รับอนุญาตตามข้อกำหนด
ต้องขอรับใบอนุญาตผลิต (ที่มิใช่การปลูก) หากได้สารสกัดที่มีปริมาณ THC เกิน 0.2 % ซึ่งสารสกัดดังกล่าวยังจัดเป็นยาเสพติดให้โทษ ดังนั้น ผู้รับอนุญาตผลิตสกัด ต้องขอรับใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เพื่อจำหน่ายสารสกัดดังกล่าว ไปยังผู้รับอนุญาตผลิตตำรับยาที่มีกัญชงปรุงผสมอยู่เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตยากัญชง สำหรับแนวทางมาตรฐานสถานที่ทาง อย. กำลังดำเนินการจัดทำ ทั้งนี้ หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะได้นำเผยแพร่ในเว็บไซต์ของกองควบคุมวัตถุเสพติดต่อไป
การผลิตสารสกัดต้องพิจารณาเงื่อนไขการเป็นสารสกัด ซึ่งกรณีที่ได้รับยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563 หากเป็นการนำกิ่งก้าน ราก มาสกัด อาจจะไม่ต้องขอใบอนุญาตผลิตสกัด ยส.5 เนื่องจาก สารสกัดที่ได้อาจมีปริมาณ THC ไม่เกิน 0.2 % แต่กรณีของการนำใบมาสกัด สารสกัดที่ได้อาจมีปริมาณ THC เกิน 0.2 % สถานที่นั้น ก็ต้องขอใบอนุญาตผลิตสกัด ยส.5 กัญชงด้วย สำหรับแนวทางมาตรฐานสถานที่ ทาง อย. กำลังดำเนินการจัดทำ ทั้งนี้หากดำเนินการแล้วเสร็จจะได้นำเผยแพร่ในเว็บไซต์ของกองควบคุมวัตถุเสพติดต่อไป
ไม่ได้ เนื่องจากการดำเนินการยื่นขออนุญาตจะเป็นไปตามข้อ 11 ของ กฎกระทรวงฯ คือ
- กรณีผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งกัญชง : พื้นที่อยู่ กทม. ยื่นที่ อย./ พื้นที่อยู่จังหวัดอื่น ยื่นที่ สสจ. แห่งท้องที่ที่ตั้งอยู่
- กรณีนำเข้าหรือส่งออกซึ่งกัญชง : ให้ยื่นที่ อย.
การขออนุญาตจะขึ้นกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องนั้นๆ เช่น หากประสงค์จะปลูกกัญชงก็จำเป็นต้องขออนุญาตปลูกและหากประสงค์จะขออนุญาตสกัดกัญชงก็ต้องขออนุญาตผลิต (ที่มิใช่การปลูก) กัญชง เป็นต้น
กรณีจำหน่ายให้กับประชาชน ต้องจำหน่ายได้เฉพาะส่วนที่ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษแล้ว ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563 เช่น กิ่ง ก้าน ราก ใบ เปลือก
ในการยื่นขอจดแจ้งเครื่องสำอางจะต้องแนบ specification หรือ SDS (Safety data sheet) ที่แสดงปริมาณ THC ที่ปนเปื้อน หรือผลการวิเคราะห์หาปริมาณTHC ในวัตถุดิบ (น้ำมันกัญชง/สารสกัดจากเมล็ดกัญชง) ประกอบการจดแจ้ง แต่การพิจารณาเงื่อนไขปริมาณ THC ในผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปผู้ประกอบการสามารถคำนวณหาปริมาณ THC ที่ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปโดยส่งเป็น pdf file เพื่อประกอบการพิจารณาโดยไม่ต้องแนบผลวิเคราะห์หาปริมาณ THC ที่ปนเปื้อนใน ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
ไม่ต้องขออนุญาตวัตถุดิบที่จะใช้ผลิตเครื่องสำอาง (การจดแจ้งดำเนินการเฉพาะผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเท่านั้น)
ผู้รับเมล็ดกัญชงมาหีบน้ำมัน ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 แต่ต้องจัดทำ specification หรือ SDS (Safety data sheet) ของวัตถุดิบให้ชัดเจนว่าวัตถุดิบดังกล่าวมาจากแหล่งใด สามารถสืบย้อนกลับไปถึงผู้รับอนุญาตปลูกได้
กรณีที่นำส่วนที่ได้รับการยกเว้นจากการเป็นยาเสพติดให้โทษไปแปรรูปอย่างง่าย สถานที่นี้ ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ในส่วนของการได้รับการยกเว้นตาม พ.ร.บ. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 จะเป็นการผลิตโดยการเปลี่ยนรูปอย่างง่าย โดยวิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วย วิสาหกิจชุมชนหรือเกษตรรายย่อย ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่เลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนดต่อไป ทั้งนี้ในเบื้องต้นหลักฐานที่ควรจะมี คือ หลักฐานการการได้รับวัตถุดิบจากแหล่งปลูกที่ถูกต้องตามกฎหมาย
กรณีการใช้ประโยชน์จากเมล็ดกัญชง ในการหีบน้ำมันหรือสกัดน้ำมันจากเมล็ดกัญชง สถานที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษเนื่องจากเมล็ดกัญชงที่มา
การขออนุญาตต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ทั้งนี้ กรณีขออนุญาตในวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัย ก็จะต้องมีโครงการวิจัยที่ชัดเจนด้วย
กรณีเป็นผู้ได้รับอนุญาตปลูกแล้ว : ให้ขอแก้ไขโครงการโดยระบุในแผนการใช้ประโยชน์ว่าต้องการขายส่วนใด ให้ใครบ้าง โดยยื่นคำขอแก้ไข ณ สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา โดยต้องรายงานผลผลิตทั้งหมดที่ได้ทั้งส่วนที่เป็นยา เสพติดให้โทษและไม่เป็นยาเสพติดให้โทษด้วยว่านำไปทำอะไร หรือขายให้ใคร
กรณีรายใหม่ : ให้ระบุแผนการใช้ประโยชน์ในโครงการว่าต้องการขายส่วนใด ให้ใครบ้าง